โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 41 – ร่างกายที่แข็งแรง (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 8 พฤศจิกายน 2566
- Tweet
ดังนั้น ควรทำอย่างไร? ก่อนอื่น เราต้องรับรู้ (Recognize) ว่า มีพื้นที่ในการปรับปรุงตนเอง (Self-improvement) เสมอ แต่เราก็ต้องรับรู้ว่า เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีข้อบกพร่อง (Imperfect) นอกจากนี้ น้ำหนักสามารถขึ้น-ลง (Fluctuate) ได้ในชีวิตของเรา เนื่องจากหลายสาเหตุ
ถ้าเรามีน้ำหนักเกิน (Over-weight) หรืออ้วน (Obese) เราสามารถลดน้ำหนักเพื่อปรับปรุงสุขภาพของเราได้ โดยไม่ทำให้กลายคน "กลัวไขมัน" (Fat phobia) และไม่ควรทำให้รู้สึกว่าการลดน้ำหนักเพื่อการโอ้อวด (Vanity) เท่านั้น มันเกี่ยวกับการค้นหาสุขภาพที่ดีขึ้น
จุดมุ่งหมายคือการบรรลุน้ำหนักที่เหมาะสมกับสุขภาพ ไม่ใช่รูปร่าง (Figure) ที่ทำให้เสมือนเป้าหมายที่อยากได้ (Idealized) สิ่งนี้เป็นความจริงทั้งสำหรับผู้เยาว์วัยและผู้สูงวัย โดยเพราะอายุไม่ใช่อุปสรรค (Barrier) ในการลดน้ำหนักได้สำเร็จ โปรแกรมที่เน้นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (Life style) ก็มีผลเช่นกันในการส่งเสริมการลดน้ำหนักและลดดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) ในผู้ใหญ่ทั้งเยาว์วัยและสูงวัย
ความสมดุล (Balance) ระหว่างพลังงาน (Energy) และน้ำหนักตัว (Body weight) เกิดจากความสัมพันธ์ที่เรียบง่ายระหว่างพลังงานที่บริโภค (Consumed) กับพลังงานที่เผาผลาญ (Burned) เมื่อคนบริโภคพลังงานมากกว่าที่พวกเขาเผาผลาญ พวกเขาจะเพิ่มน้ำหนัก แต่การบริโภคพลังงานเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมากกว่าที่เผาผลาญพลังงาน นั่นคือความเป็นจริงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ (Inescapable reality)
ตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มที่สั่งมากที่สุดของนักศึกษาในสหรัฐอเมริกา ณ ร้านกาแฟ Starbucks คือ White Mocha Frappuccinoขนาด 16 ออนซ์ (ประมาณ 453.6 กรัม) ซึ่งให้พลังงาน 410 แคลอรี่ ในการเผาผลาญพลังงาน อันเท่ากับคนที่มีน้ำหนัก 160 ปอนด์ (ประมาณ 72.6 กิโลกรัม) จะต้องวิ่งทาง 3 ไมล์ (ประมาณ 4.8 กิโลเมตร) ที่ความเร็ว 13 นาทีต่อไมล์ (ประมาณ 1.6 กิโลเมตร) เพื่อเผาผลาญพลังงานเท่ากัน เราสามารถเรียนรู้ได้ว่า การดื่มน้ำหนักน้อยลง 1 แก้ว ของ White Mocha ย่อมง่ายกว่าการวิ่งทาง 3 ไมล์
แพทย์มักได้ยินบ่อยๆ จากผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินว่า พวกเขาระมัดระวังเรื่องอาหารการกินและพยายามออกกำลังกาย แต่ก็ยังมีน้ำหนักเพิ่ม (Gain weight) แพทย์ไม่เคยสงสัยในตัวผู้ป่วยว่ามีความพยายามจริงๆ (Genuine effort) แต่ข้อมูลจากวรรณกรรม (Literature) ที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่มีน้ำหนักเกินจริงๆ มักรายงานปริมาณอาหารที่บริโภค (Food intake) น้อยกว่าความเป็นจริง (Under report) อย่างมีนัยสำคัญ
เนื่องจากสมการ (Equation) ความสมดุลของพลังงานสามารถปรับเปลี่ยน (Adjust) ได้ง่ายขึ้น โดยการลดพลังงานที่บริโภคมากกว่าการเพิ่มพลังงานที่เผาผลาญ ดังนั้นเราจะพูดถึงกลเม็ด (Trick) ที่ง่ายที่สุดในการปรับการบริโภคก่อน ซึ่งในช่วงระยะเวลาใดๆ สามารถส่งผลให้เกิดการลดน้ำหนักที่มีนัยสำคัญได้ ส่วนการเพิ่มการบริโภคพลังงาน มักทำง่ายและได้ทันที
แหล่งข้อมูล –